Saturday, October 29, 2016

Trade Review of Oct Week4 2016: หลังจาก net +R มาหลายสัปดาห์ ในที่สุดสัปดาห์คืน R สู่ตลาดก็มาถึงครับ ปิดไป 3 เทรด 0W 3L ถือข้ามมา 3 ไม้ สัปดาห์นี้ถือว่าเทรดยาก ไม่เจอตลาดแบบนี้มาตั้งแต่ต้นปี แต่อย่าพึ่งท้อครับ การขาดทุนติดๆกัน หรือ Drawdown เป็นส่วนหนึ่งของการเทรดอย่างเลี่ยงไม่ได้ สู้ๆ ;) (y)

 EUR/GBP: -1R

USD/CHF: -1R

USD/JPY: -1R
Weekly Total = -1R -1R -1R = -3R
FYI: R = risk ที่วางไว้จาก 2% ของพอร์ทที่ยอมรับการขาดทุนได้แต่ละเทรดครับ ( Entry - Stop Loss = 1R )
ปล. ต่อไปเราจะพูดถึงกำไร/ขาดทุน เป็น R-Multiple กันนะครับ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพความสำคัญของ Money Management ที่ผมใช้ในทุกๆเทรด



Saturday, October 22, 2016

Trade Review of Oct Week3 2016: วันจันทร์โดน SL 2 ไม้จากที่ถือข้ามมา เซ็งนิดหน่อย แต่พอคืนวันพฤหัสมีข่าว ECB พูดเกี่ยวกับ QE ทำให้กราฟผันผวนแรง เกิด setup สวยๆให้เทรดเพียบ สรุปปิดไป 6 เทรด 4W 2L เก็บได้มา 2R ครับ ถือข้ามมาอีก 1 เทรด

AUD/USD: +1R

EUR/JPY: +1R

 GBP/JPY: +1R

 NZD/USD: -1R


USD/CAD: -1R + 1R = 0R

Weekly Total = +1R +1R +1R -1R +0R = +2R
FYI: R = risk ที่วางไว้จาก 2% ของพอร์ทที่ยอมรับการขาดทุนได้แต่ละเทรดครับ ( Entry - Stop Loss = 1R )
ปล. ต่อไปเราจะพูดถึงกำไร/ขาดทุน เป็น R-Multiple กันนะครับ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพความสำคัญของ Money Management ที่ผมใช้ในทุกๆเทรด

Monday, October 17, 2016

Trade Review for Week2 of Oct 2016: มารีวิวเทรดของสัปดาห์กันครับ ปิดไป 3 เทรด 3W 0L เก็บได้มา 3R ครับ ถือข้ามมาอีก 2 เทรด รอ update ผลลัพธ์ต่อไปครับ

AUD/USD: +1R
 

EUR/JPY: +1R + 1R = 2R

Weekly Total = +1R + 2R = +3R
FYI: R = risk ที่วางไว้จาก 2% ของพอร์ทที่ยอมรับการขาดทุนได้แต่ละเทรดครับ ( Entry - Stop Loss = 1R )
ปล. ต่อไปเราจะพูดถึงกำไร/ขาดทุน เป็น R-Multiple กันนะครับ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพความสำคัญของ Money Management ที่ผมใช้ในทุกๆเทรด

Sunday, October 9, 2016

Trade Review for Week1 of Oct 2016: มารีวิวเทรดของสัปดาห์กันครับ ปิดไป 3 เทรด 1W 2D 0L วันศุกร์มีดราม่าหนักเลยทีเดียวเรื่อง GBP มีหลายคนโดนล้างพอร์ทไปก็เสียใจด้วยนะครับ กลับไป regroup ใหม่ หาจุดผิดพลาด แล้วจำไว้อย่าทำผิดเหมือนเดิมอีกครับ





AUD/USD: +0R

 GBP/JPY: +0R

GBP/USD: +2R

Weekly Total = +0R + 0R + 2R = +2R

FYI: R = risk ที่วางไว้จาก 2% ของพอร์ทที่ยอมรับการขาดทุนได้แต่ละเทรดครับ ( Entry - Stop Loss = 1R )
ปล. ต่อไปเราจะพูดถึงกำไร/ขาดทุน เป็น R-Multiple กันนะครับ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพความสำคัญของ Money Management ที่ผมใช้ในทุกๆเทรด

Thursday, October 6, 2016

EUR/GBP 1W & 1D Case Study: การใช้ Resistance Zone + Candle Stick Pattern

 


EUR/GBP 1W & 1D
Case Study: การใช้ Resistance Zone + Candle Stick Pattern
ผมจะไม่ใช้ Support/Resistance เพียงอย่างเดียว
เพื่อเป็นสัญญาณในการเข้าเทรด 
แต่จะใช้ประกอบการวิเคราะห์
เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับแต่ละ Setup การเทรด
ซึ่ง Setup ที่ผมชอบจะมีแค่ไม่กี่ตัวเท่านั้น
แต่สามารถพลิกแพลงใช้ได้หลากหลาย
- ครูกันต์

Wednesday, October 5, 2016

Case Study: Throwback Pin Setup EUR/JPY 4H


Case Study: Throwback Pin Setup
==========
EUR/JPY 4H
==========
สำหรับหลักการ Swing Trade แล้วเราไม่จำเป็นต้อง
เทรดเฉพาะช่วงกราฟที่เป็น Sideway อย่างเดียว
เรายังสามารถเทรดในช่วงที่ตลาดเป็น Trend ได้เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น หลังจากการ Breakout ต่างๆ (T/L, Pattern)
Swing Trader จะหา Reversal Setup เป็นจังหวะเข้าเทรด
ในบริเวณที่เกิดการ Throwback/Pullback
ซึ่งเป็นอีก 1 setup ที่ผมนิยมใช้สำหรับ Swing Trade ครับ

- ครูกันต์

SET เป็นขาขึ้นรึยีง??? วันนี้เอา Case Study ใช้ Dow Theory + การตี Trendline มาฝากครับ




=============
ภาพแรก SET 1D
=============
หลังจากที่ตก Up T/L สีเขียว มาตั้งแต่ช่วงต้นเดือนกันยายน ล่าสุดกราฟได้เกิด Up Trend ใหม่ตาม Dow Theory (สร้าง Higher High/Low) ในกราฟ Day ได้อย่างสวยงาม โดยมี Up T/L สีฟ้าเป็นแนวรับในขาขึ้นรอบนี้ครับ (จบ Trend เมื่อตก T/L)

===============
ภาพที่สอง SET 1D
===============
ทีนี้จะมีหลายคนตีเส้น T/L อีกเส้น(สีม่วง) โดยบอกว่าเป็นแนวรับใหญ่ของ Up Trend รอบนี้ ซึ่งถ้าใช้ความรู้เรื่อง Trend กับ T/L ประกอบกัน เส้น T/L สีม่วงนั้นจะยังไม่มีนัยยะอะไรเลย เนื่องจากภาพใหญ่ ยังไม่มีการสร้าง Higher High/Low ที่สมบูรณ์ (สังเกต High/Low ที่จุดวงกลมม่วง)
ถ้าราคาตก T/L ม่วงลงมา เราจะไม่สามารถพูดว่า "จบ Trend (ใหญ่)" ได้ เพราะ Trend (ใหญ่) มันยังไม่เกิดนั่นเองครับ

ดังนั้นการตี T/L ม่วงไว้ก่อนนั้นไม่ใช่เรื่องผิด
แต่เราควรเข้าใจถึงความรู้ที่นำมาประกอบกันเป็น T/L

เพื่อที่จะใช้ T/L ได้อย่างถูกต้องครับ

- ครูกันต์


Saturday, October 1, 2016

ถ้าคุณยังปวดหัวกับการวิเคราะห์ Price Action, ลองมาดู 4 วิธีง่ายๆในการแก้ไขกันครับ (บทความแปล+เพิ่มเติมเล็กน้อย)

ถ้าคุณยังปวดหัวกับการวิเคราะห์ Price Action, โปรดรู้ไว้เลยว่าไม่ได้มีแค่คุณและคุณก็ไม่ไปต้องเครียดอะไรมากมาย เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ก็มีปัญหากับ Price Action ด้วยเหตุผลต่างๆนานา และบทความนี้จะมาบอกเล่าและช่วยให้คุณก้าวผ่านปัญหาต่างๆเหล่านั้นไปได้ 1. คุณยังไม่เปิดใจให้กับการวิเคราะห์ Price Action อย่างเพียงพอ
คุณต้องทิ้งความกลัวและความสงสัยในเรื่อง Price Action ไปให้หมด
เนื่องจากคนบางกลุ่มคิดว่าการเทรดนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก คุณจึงรู้สึก "ต้องการ" ตัวช่วย เช่น Indicators, ระบบเทรดที่ซับซ้อนและมีราคาแพง คุณจำเป็นต้องตัดความกลัว ความกังวลเหล่านี้ทิ้งไป และ เชื่ออย่างสุดใจในวิถีของ Price Action
วิธีแก้ไข: การเปิดใจให้กับวิถี Price Action
เมื่อคุณได้ฝึกฝนแล้ว คุณต้องให้เวลากับมันและต้องมั่นใจว่าคุณได้ยึดมั่นกับวิธีการเทรดนั้นๆ
ถ้าคุณได้เรียนมาแล้ว คุณต้องให้เวลาสำหรับการทบทวน และฝึกเทรด Demo จนเข้าใจย่างถ่องแท้ ถึงจะข้ามไปเทรด Live Account ได้
คุณต้องให้เวลาฝึกอย่างน้อย 6 เดือน เพื่อที่จะเห็นผลลัพธ์ ถ้าใช้เวลาน้อยกว่านั้นจะไม่ค่อยดีพอ ผมเจอหลายคนที่ไม่สามารถผ่านการฝึกไปได้ พวกเค้าจะล้มเลิกหลังจากเจอการขาดทุนเพียง 2-3 ครั้ง และจะเริ่มมองหาวิธีอื่นหรือแนวทางอื่นๆ ซึ่งมันจะทำให้คุณขาดความมีวินัย
การเข้าใจว่าการเทรดนั้นประกอบด้วยทั้งการกำไร และ ขาดทุน ก็เป็นเรื่องสำคัญ และคุณจะไม่สามารถทำกำไรในระยะยาวได้ถ้าขาดวินัยในการฝึกฝน ซึ่งผมแนะนำว่าไม่ควรต่ำกว่า 6 เดือนครับ
2. คุณไม่รอสัญญาณ Price Action ที่ชัดเจน
ในการสอนนักเรียน ผมพบว่าปัญหาใหญ่อันหนึ่งเลย คือ พวกเค้าไม่รอสัญญาณ Price Action ที่ชัดเจนจริงๆ
และต้องให้เกิดที่แนวรับ/ต้านสำคัญ ใน Trend ด้วย
วิธีแก้ไข: รอสัญญาณที่ชัดเจน
ความอดทนคือกุญแจสำคัญ รวมถึงการเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าสัญญาณที่ "ดี" หน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งก็เชื่อมโยงถึงข้อที่แล้ว คุณต้องได้เรียนรู้ Price Action อย่างถูกต้อง และ เปิดใจอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะรู้ว่าสัญญาณ Price Action ที่ดีในกราฟนั้นเป็นอย่างไร ถ้าคุณไม่ทำเช่นนี้ คุณก็ได้เพียงแต่คิดไปเองหรือคอย "มั่ว" หาสัญญาณ
ถ้าคุณได้เรียนวิธีการเทรด Price Action แล้ว คุณจะสามารถเปิดใจได้อย่างที่ผมกล่าวไปข้างต้น
และส่วนหนึ่งของการเปิดใจคือ "การรอ" สัญญาณให้เกิดขึ้น คุณต้องตัดความรู้สึกโลภออกไป เพราะมันจะไม่ช่วยให้คุณเทรดได้ดี ถึงแม้ว่าจะรู้สึกเหมือนมันช่วยคุณอยู่ สิ่งที่ช่วยเหลือคุณมากที่สุด ผมบอกได้เลยว่าคือ "ความอดทน" มันจะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดที่จะทำเงินในตลาด ถึงแม้มันจะดูเป็นเรื่องง่ายดายก็ตาม (พูดง่ายแต่ทำยากที่สุดครับ)
การอดทนก็เหมือนการรอให้เกจพลังท่าไม้ตายของคุณเต็มหลอด
และรออย่างอดทนให้ศัตรูพลาดพลั้งลดการ์ดลง นั่นแหล่ะคือสัญญาณที่คุณ "รอ" ให้เกิด
3. คุณต้องการรวยเร็วๆ
ไม่ว่าคุณจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม เราทุกคนนั้นอยากที่จะร่ำรวยเร็ว
และการเทรดนั้นเหมือนจะเป็นวิธีที่ Perfect สำหรับมือใหม่ อย่างไรก็ตามคุณจะใช้เวลาไม่นาน จนคุณรู้ว่ามันไม่ใช่วิธีที่ทำให้รวยเร็ว (สำหรับคนส่วนใหญ่ทำให้จนลงด้วยซ้ำ ^ ^;) ส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาเป็นปีๆในการเรียนรู้ ลองผิดลองถูก และสุดท้ายก็จะมีวินัยจนทำเงินได้อย่างต่อเนื่อง
วิธีแก้ไข: เรียนรู้และรักษาแนวคิดการเทรด(Mindset) ที่ถูกต้อง
ยิ่งคุณมัวแต่เสียเวลากับการหาทาง "รวยเร็ว" ในตลาดนานแค่ไหน คุณก็ยิ่งจะใช้เวลานานมากขึ้นเพื่อจะทำเงินในตลาด ผมจะอธิบายดังนี้...
การประสบความสำเร็จในการเทรด Price Action และรวมถึงแนวการเทรดอื่นๆด้วย
ต้องมาจากการมี Mindset ที่เหมาะสม และรักษา Mindset นั้นไว้นานเพียงพอที่คุณจะทำเงินจากมันได้ Mindset ในการเทรดที่เหมาะสมนั้นหมายถึง คุณจะต้องไม่คาดหวังว่าคุณต้อง "ชนะ" ทุกเทรด และคุณต้องรออย่างอดทนสำหรับโอกาสที่เหมาะสมที่เกิดขึ้น คุณต้องไม่โดดเข้าไปเทรดในทุกๆสัญญาณที่เจอย่างไร้สติ คุณใช้ Risk Management ด้วยความเข้าใจว่า "ทุกๆเทรดสามารถแพ้ได้" ถ้าคุณยอมรับได้จากใจแล้ว คุณก็จะไม่มีวันเสี่ยงมากกว่าที่คุณยอมรับได้ในแต่ละการเทรดแน่นอนครับ
4. คุณไม่ได้รู้จัก Price Action ที่ใช้งานได้จริง
เหตุผลโดยทั่วไปที่เทรดเดอร์จะปวดหัวกับ Price Action คือ พวกเขาไม่ได้รู้วิธีการเทรด
Price Action ที่ใช้เทรดได้จริง สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เทรดเดอร์หลายคนจับความรู้เล็กๆน้อยๆ จากหลากหลายแหล่งข้อมูลที่หาได้ทั่วไปใน Internet และก็ "คิดเอาเอง" ว่า พวกเขารู้จักการเทรด Price Action แล้ว แต่คุณต้องถามตัวเองก่อนว่า คุณได้เรียนรู้วิธีที่ใช้เทรดได้จริง ทำเงินได้จริง จากการประติดประต่อความรู้จากหลายที่แล้วหรือยัง ถ้ายัง คุณอาจสนใจไม่พอ และคุณอาจเพียงมองหาสุ่มๆจากกราฟอย่างไม่มีระบบระเบียบ หรือ ไม่มีกระบวนการเบื้องหลังการวิเคราะห์ Price Action
วิธีแก้: เรียนรู้วิธีเทรด Price Action ที่ถูกต้อง
การเรียนเรื่อง Price Action และยึดมั่นกับมัน เป็นหนทางแรกของการ แก้ปัญหาการปวดหัวในการวิเคราะห์ Price Action นี่หมายความถึงว่า การเรียนเรื่อง Price Action Analysis จากใครซักคนที่ผ่านการเรียนรู้ ใช้งาน และรวบรวมมาเป็นหลักสูตรที่เข้มข้น
มาถึงจุดนี้ คุณต้องหาแนวทาง Price Action และยึดติดกับมัน
อย่ารวมเอาหลายๆวิธี หรือ โดดจากวิธีหนึ่งไปอีกวิธีหนึ่ง
credit ต้นฉบับ Nial Fuller
ถ้าคุณต้องการเรียนรู้การเทรด Price Action จากกราฟเปล่าโดยใช้ Timeframe ใหญ่
#ForexFirstClass #FFC5 อาจเป็นคอร์สที่คุณกำลังมองหาอยู่[เปิดรับสมัคร FFC รุ่นที่ 5 (15-16 ตค 59)]https://www.facebook.com/events/349492478721656/


Trade Review for Week4 of Sep 2016: มารีวิวเทรดของสัปดาห์กันครับ ค่อนข้างเทรดลำบากครับเนื่องจากราคาผันผวนอยู่ในกรอบ ปิดไป 5 เทรด 3W 2L เก็บมาได้ +1R เห็นจะมีคู่ JPY ที่วิ่งไกลหน่อย แต่ผมก็ยังโดน Stop Hunt ปิดไปก่อน ^ ^; ยังไงก็อย่าลืมทำตามแผนนะครับ และอย่าลืมว่าการขาดทุนเป็นส่วนหนึ่งของการเทรดเสมอ... กำไรก็เช่นกัน ;)

 
 AUD/USD: -1R

GBP/JPY: -1R

 GBP/USD: +1R

USD/CHF: +1R

USD/JPY: +1R

Weekly Total = -1R - 1R + 1R + 1R + 1R = +1R

FYI: R = risk ที่วางไว้จาก 2% ของพอร์ทที่ยอมรับการขาดทุนได้แต่ละเทรดครับ ( Entry - Stop Loss = 1R )
ปล. ต่อไปเราจะพูดถึงกำไร/ขาดทุน เป็น R-Multiple กันนะครับ เพื่อให้ทุกคนเห็นภาพความสำคัญของ Money Management ที่ผมใช้ในทุกๆเทรด