ประวัติโดยย่อของ Forex




ในปี ค.ศ. 1876 สภาคองเกรส แห่งสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจที่จะหนุนค่าเงินดอลลาร์ด้วยทองคำ จึงตั้งมาตรฐานทองคำ หรือที่เรียกว่า Gold Exchange Standard ขึ้นมา จากนั้นมา ทุกๆธนบัตรของแต่ละค่าเงินที่ถูกพิมออกมาต้องมีทองคำมาคอยหนุน

ต่อมาหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (WW II) โลกกำลังฟื้นตัวจากยุคหลังสงคราม ทุกประเทศก็มีความจำเป็นเร่งด่วนในเรื่องการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับประเทศของตนเอง ตัวแทนจากประเทศต่างๆ รวมกันกว่า 29 ประเทศจึงได้มาเจรจากันที่เมือง Bretton Woods และตกลงกันในระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งข้อสรุปที่จะต้องปรับเปลี่ยนกันในเวลานั้นก็คือต้องมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดองค์กรสำคัญของโลกขึ้นมาอย่าง “กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF)” ถูกก่อตั้งขึ้นภายใต้ข้อตกลง Bretton Woods และดำเนินการในปี ค.ศ. 1949 และเริ่มมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศให้มีความชัดเจนมากขึ้น

ต่อมาปลายปี ค.ศ. 1960  ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราคงที่ (Fix Rate) เริ่มต้นสลายตัวลง สืบเนื่องมาจากปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีมากมาย

Richard M.Nixon
ในปี ค.ศ. 1971 ประธานาธิบดีนิกสันแห่งสหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกการผูกเงิน US Dollars ไว้กับทอง โดยเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขการล่มสลายของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่รู้จักกันว่า นิกสัน ช็อก (Nixon Shock) จนนำไปสู่การเกิดตลาดระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราลอยตัว (Currency Fluctuations) 

Forex หรือการแลกเปลี่ยนเงินตรา จึงเริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1971 เมื่อการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนจากระบบตายตัว (Fix) เป็นแบบลอยตัว (Float) และเป็นการแลกเปลี่ยนโดยผ่านคนกลาง สำหรับเงินตราระหว่างสกุลต่างๆ ในอัตราและวัน ที่กำหนดในการแลกเปลี่ยนนั้นๆ โดยอัตราแลกเปลี่ยนกำหนดขึ้นจากพื้นฐานของความต้องการของตลาด (Demand & Supply) ซึ่งแต่ละฝ่ายยอมรับ ตลาดของการแลกเปลี่ยนเงินตราในตลาดโลก ได้ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการค้าระหว่างประเทศและการล้มเลิกอัตราแลกเปลี่ยนแบบตายตัว (Fix Rate) ในหลายๆ ประเทศ

ไม่เฉพาะขนาดของการแลกเปลี่ยนเงินตราที่เติบโตขึ้น แต่รวมไปถึงอัตราของการแลกเปลี่ยนด้วย ในปี ค.ศ. 1977 มีการทำธุรกรรมมากกว่า 5,000 ล้านเหรียญ และเพิ่มขึ้น เป็น 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และเข้าสู่หลัก 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งการเติบโตนี้ ผู้ดำเนินการในการแลกเปลี่ยนสามารถเพิ่มรายได้ขึ้นกว่า 80% ซึ่งมีทั้งสถาบันการเงินและนักลงทุนทั่วไป

เมื่อมีการพัฒนาขึ้นอย่างมากของระบบคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ก็ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตลาด Forex เป็นอย่างมากเช่นกัน และในการนี้ ตัวกลางมืออาชีพ(Broker) ได้มีบทบาทความสำคัญขึ้นอย่างมาก การแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งเมื่อก่อนต้องขึ้นอยู่กับธนาคารขนาดใหญ่นั้นได้เปลี่ยนไป เป็นผลโดยตรงจากการเติบโตของการตลาดบนอินเตอร์เน็ต ธนาคารได้เริ่มนำเสนอบริการแบบอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลทั่วไป

โบรกเกอร์ออนไลน์จึงเข้ามามีส่วนแบ่งกว่า 11% ของตลาด ปริมาณการแลกเปลี่ยนของธนาคารขนาดใหญ่ (เช่น Deutsche Bank, Barclays Bank, Union Bank of Switzerland, Citibank, Chase Manhattan Bank, Standard Chartered Bank) จึงเพิ่มขึ้นมาเป็นกว่าพันล้านเหรียญสหรัฐ ความน่าสนใจของ Forex คือ ไม่ว่าตลาดทุนจะแปรฝันอย่างไรก็ตามก็ไม่ได้กระทบกับตลาด  

Forex เป็นตลาดการเงินที่เปิดตลาด 24 ช.ม. การแลกเปลี่ยนระหว่างธนาคารเกิดขึ้นตลอดเวลาทั่วโลก และอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา ซึ่งนักลงทุนสามารถทำการซื้อ-ขายได้หลายครั้งตลอดทั้งวัน

Cr. www.google.co.th

No comments:

Post a Comment